วิธีการใช้งานโปรแกรมประชุมแบบวีดีโอ ด้วย Google Meet - Griffinics

Latest

เว็บบล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเก็บสะสมองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่ผู้เขียนได้เรียนรู้ระหว่างเส้นทางชีวิตการงาน ไว้เป็นวิทยาทานแด่ศิษย์อาจารย์ Google ทุกทาน

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

วิธีการใช้งานโปรแกรมประชุมแบบวีดีโอ ด้วย Google Meet


       Meet เป็นโปรแกรมของ Google ที่สร้างมาเพื่อการสื่อสารด้วยภาพและเสียง และการประชุมออนไลน์ ซึ่งสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก สามารถใช้งานได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ Smart phone ทั้ง ios และ Android

วิธีการใช้งานโปรแกรมประชุมแบบวีดีโอ ด้วย Google Meet

การเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์

สามารถเข้าใช้ได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 เปิดเว็บเบาร์เซอร์ Chrome และพิมพ์ลิงค์ ดังนี้ https://meet.google.com

วิธีที่ 2 เปิดเว็บเบาร์เซอร์ Chrome และเข้าสู่ระบบบัญชีของ Google เช่น Gmail https://mail.google.com


คลิกปุ่ม Google app ที่เป็นจุด 9 จุด แล้วคลิกที่ แอพ Meet ดังรุป

คลิก เข้าร่วมหรือเริ่มประชุม เพื่อเข้าร่วมประชุม



พิมพ์โค้ดสำกหรับเข้าห้องประชุม (หากมี) เพื่อเข้าร่วมประชุมตามห้องต่างๆที่มีผู้ส่งมาให้ แล้วกดปุ่ม ต่อไป



หากไม่มีโค้ดและต้องการสร้างห้องประชุมใหม่ด้วยตัวเอง ให้เว้นว่างไว้แล้วกดปุ่ม ต่อไป



การสร้างห้องประชุม

สามารถสร้างได้ 2 วิธี

วิธีที่ 1 การสร้างห้องประชุมจาก Meet 1.ในเว็บเบราว์เซอร์ ให้ป้อน https://meet.google.com เมื่อเข้าใช้งานได้แล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูป

2.คลิก เข้าร่วมหรือเริ่มประชุม เพื่อเข้าร่วมประชุม 

3.สร้างห้องประชุมใหม่โดยใส่ชื่อเล่นห้องประชุม หรือให้เว้นว่างไว้แล้วกดปุ่ม ต่อไป 

4.คลิกปุ่ม เข้าร่วม เพื่อเข้าห้องประชุม แค่นี้ก็สามารถเข้าร่วมประชุมได้แล้ว การแชร์ห้องประชุมให้เพื่อน


วิธีที่ 2 การสร้างห้องประชุมจากกิจกรรมในปฏิทิน 1.ดูการประชุมที่กำหนดเวลาไว้ในปฏิทินและเข้าร่วมการประชุมทางวิดีโอได้อย่างรวดเร็ว 2.ใน ปฏิทิน ให้คลิกสร้างกิจกรรมตามที่ต้องการ
3.คลิกปุ่ม เพิ่มการประชุม แล้วคลิก Hangouts Meet ในเมนูที่เปิดขึ้นมา

4. หลังจากสร้างกิจกรรมแล้ว ในรายละเอียดกิจกรรมจะปรากฏลิงค์สำหรับเข้าร่วมประชุม และสำหรับแชร์ห้องประชุม


รายละเอียดการใช้งานส่วนต่างๆ

เมื่อเข้าห้องประชุมแล้วสามารถเริ่มการประชุมได้ทันที ซึ่งห้องประชุมวีดีโอออนไลน์ ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้

เพิ่มคำบรรยายภาพ
หมายเลข:
1.ข้อมูลผู้เข้าร่วมประชุม และการสนทนา Chat  การเปิดปิดไมค์ของผู้เข้าร่วม
2.รายละเอียดห้องประชุม เช่น รหัสห้องประชุม, ลิงค์เข้าร่วม, ไฟล์แนบการประชุมจาก Google calendar
3.ปุ่มควบคุม ไมโครโฟน, กล้อง, ปุ่มออกจากห้องประชุม
3.ปุ่มนำเสนอหน้าจอ
4.ปุ่มตั้งค่า เพิ่มเติม เช่น ภาพและเสียงจากภายนอก, การบันทึกการประชุม

การดูข้อมูลผู้เข้าร่วมประชุม

1.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 2.ปุ่มเพิ่ม หรือเชิญผู้เข้าร่วมประชุม ด้วยอีเมล์ ซึ่งระบบจะเชิญผู้เข้าร่มทางอีเมล์ 3.การสนทนา Chat Message 4.ข้อมูลของผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคน เช่น ภาพและเสียง ของผู้เข้าร่วม


รายละเอียดห้องประชุม



1.รายละเอียด
2.ลิงค์สำหรับเข้าร่วมประชุม
3.ปุ่มคัดลอกลิงค์
4.โค้ดสำหรับเข้าร่วมประชุม
5.ไฟล์แนบจาก Google calendar

ปุ่มควบคุมต่างๆ

 เปิด/ปิด ไมโครโฟน  กรณีที่ยังไม่มีการพูดควรปิดไมโครโฟนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้มีเสียงรบกวนในห้องประชุมจากห้องประชุม กล้อง  

ปุ่มนำเสนอหน้าจอ


หน้าจอทั้งหมด เป็นการนำเสนอทั้งหน้าจอทุกหน้าต่าง ตามที่ผู้นำเสนอต้องการ หน้าต่าง เป็นการนำเสนอเฉพาะหน้าโปรแกรมที่ต้องการนำเสนอเท่านั้น ส่วนหน้าโปรแกรมอื่น ผู้เข้าร่วมประชุมจะไม่สามารถเห็นได้


การตั้งค่าเพิ่มเติม
บันทึกการประชุม
การบันทึกการประชุมในรูปแบบวีดีโอบันทึกการประชุม
เปลี่ยนเค้าโครง
การปรับเปลี่ยนการจัดหน้าจอการประชุม
เต็มหน้าจอ
การดูหน้าต่างการประชุมเต็มหน้าจอ
เปิดคำบรรยาย
การเปิดปิดคำบรรยายการประชุม ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงสนทนาเป็นคำบรรยายตัวอักษร
การตั้งค่า
การตั้งค่าการนำสัญญานเสียงและภาพจากแหล่งต่างๆ เช่น ไมโครโฟน, การ์ดเสียง, กล้อง, การ์ดสัญญานภาพจากภายนอก เข้ามาใช้ในการประชุม
ใช้เสียงจากโทรศัพท์
ใช้ในการฟังเสียงจากโทรศัพท์แทนการประชุมแบบวีดีโอ

การแชร์ห้องประชุม

1.การแชร์ด้วยลิงค์
การคัดลอกลิงค์จากหน้าจอการประชุม
ในหน้าจอการประชุมคลิกที่รายละเอียดการประชุม มุมล่างซ้ายของจอ คลิกปุ่ม คัดลอกข้อมูลการเข้าร่วม แล้วนำลิงค์ไปแชร์ในสื่อต่างๆตามต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น