วิธีการใช้งาน Google Classroom - Griffinics

Latest

เว็บบล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเก็บสะสมองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่ผู้เขียนได้เรียนรู้ระหว่างเส้นทางชีวิตการงาน ไว้เป็นวิทยาทานแด่ศิษย์อาจารย์ Google ทุกทาน

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

วิธีการใช้งาน Google Classroom









       Google Classroom เป็นโปรแกรมของ Google ที่สร้างมาเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งสามารถรองรับผู้เข้าเรียนจำนวนมาก สามารถใช้งานได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ไอแพด และโทรศัพท์มือถือ Smart phone ทั้ง ios และ android


วิธีการใช้งาน Google Classroom
สามารถคลิกดูวิธีการใช้งานตามหัวข้อ หรือเลื่อนดูวิธีการใช้งานตามลำดับ

การเข้าใช้งาน Google Classroom 
สามารถเข้าใช้ได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 เปิดเว็บเบาร์เซอร์ Chrome และพิมพ์ลิงค์ ดังนี้ 

            https://classroom.google.com

วิธีที่ 2 เปิดเว็บเบาร์เซอร์ Chrome และเข้าสู่ระบบบัญชีของ Google เช่น Gmail https://mail.google.com
แล้วคลิกปุ่ม Google app ที่เป็นจุด 9 จุด เมื่อเข้าใช้งานได้แล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูป
  • คลิกที่ปุ่ม Continue เพื่อเริ่มต้นการใช้งาน Google classroom

การใช้งานครั้งแรก
       ระบบจะให้ผู้ใช้เลือกบทบาทของตนเอง ว่าต้องการเป็นครูหรือนักเรียน (หากเลือกบทบาทผิดให้แจ้งผู้ดูแลระบบของโรงเรียนหรือองค์กรของคุณเอง)
  • คลิกเลือกสถานะบทบาทผู้ใช้งานว่าเป็น ครู หรือนักเรียน 




















  •  หากเป็นการใช้งานครั้งแรก เมื่อเข้ามาแล้วจะพบหน้าว่างๆ ยังไม่มีห้องเรียนอะไร 

ในขั้นตอนถัดไปให้คลิกที่ปุ่มเครื่องหมาย + ด้านบนขวาของจอ หากสถานะเป็น ครู ให้ทำการสร้างห้องเรียน แต่ถ้าเป็น นักเรียน ให้เข้าร่วมชั้นเรียน


การสร้างห้องเรียน

  1. ไปที่ classroom.google.com
  2. ไปที่หน้าชั้นเรียน คลิกปุ่มเพิ่ม + สร้างชั้นเรียน ดังรูป 
  3. คลิกชื่อห้องเรียน(Class name) ใส่ชื่อชั้นเรียน หรือชื่อวิชา อาจจะใส่ระดับชั้นเพื่อสื่อถึงรายละเอียดของห้องเรียน ดังรูป
  4. คลิกหัวข้อ(Section) เพื่อใส่คำอธิบายสั้นๆระดับเกรด หรือคาบเรียน (ไม่บังคับ)
  5. คลิกเรื่อง(Subject) แล้วใส่ชื่อเรื่อง หรือคลิกรายชื่อที่ปรากฏเมื่อคุณป้อนข้อความ (ไม่บังคับ)
  6. คลิกห้อง เพื่อใส่รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ของชั้นเรียน
  7. คลิกที่ปุ่มสร้าง(Create)

การสร้างสื่อการสอนและมอบหมายงานของชั้นเรียน
       ในการสร้างสื่อการสอนและการมอบหมายงานของชั้นเรียนครูสามารถ โพสต์ไปยังชั้นเรียนได้มากกว่าหนึ่งชั้นเรียนขึ้นไป สามารถโพสต์ถึงนักเรียนแต่ละคนได้ สามารถเพิ่มหัวข้อต่างๆได้ 
  1. ไปที่ classroom.google.com
  2. คลิกที่ชั้นเรียน > เลือกแท็บ งานของชั้นเรียน (Classwork)

  3. คลิกสร้าง > สื่อการสอน ตามที่ต้องการ เช่น งาน, งานแบบทดสอบ, คำถาม, เนื้อหา, ใช้โพสต์ซ้ำ, หัวข้อ
  4. ใส่ชื่อและคำอธิบาย

เพิ่มไฟล์แนบ
ครู สามารถเพิ่มไฟล์จาก Google ไดรฟ์, ลิงค์, วีดีโอ Youtube ลงในสื่อการสอนได้หากต้องการอับโหลดไฟล์ให้คลิกแนบ เลือกไฟล์ที่ต้องการ แล้วคลิกอัปโหลด วิธีการแนบไฟล์ของ Google ไดรฟ์สามารถทำได้ดังนี้
  1.  คลิกไดรฟ์ Google ไดรฟ์
  2. เลือกรายการแล้วคลิก เพิ่ม
หมายเหตุ: หากเห็นข้อความว่าคุณไม่ได้รับอนุญาตให้แนบไฟล์ ให้คลิกคัดลอก Classroom จะทำสำเนาเพื่อแนบไปกับสื่อการสอน และบันทึกไปยังโฟลเดอร์ในไดรฟ์ของชั้นเรียน

การแนบวิดีโอ YouTube

หากต้องการแนบวิดีโอ YouTube ให้คลิก YouTube YouTube แล้วเลือกตัวเลือกดังนี้

  • วิธีค้นหาวิดีโอที่จะแนบ
    1. ป้อนคีย์เวิร์ดในช่องค้นหาแล้วคลิกค้นหา ค้นหา
    2. คลิกวิดีโอ จากนั้น เพิ่ม
  • วิธีแนบลิงก์วิดีโอ
    1. คลิก URL
    2. ป้อน URL แล้วคลิกเพิ่ม

แนบลิงก์

หากต้องการแนบลิงก์ ให้คลิกลิงก์ ลิงก์ ป้อน URL แล้วคลิกเพิ่มลิงก์

การลบไฟล์แนบ

คลิกนำออก ลบ ถัดจากไฟล์แนบนั้นเพื่อลบไฟล์แนบ

โพสต์ไปยังชั้นเรียนอย่างน้อย 1 ชั้น

ถัดจากสำหรับ ให้คลิกลูกศรลง ลูกศรลง จากนั้น เลือกชั้นเรียนที่ต้องการอย่างน้อย 1 ชั้น

หมายเหตุ: คุณครูจะโพสต์ถึงนักเรียนเป็นรายบุคคลในหลายชั้นเรียนไม่ได้ เพราะการโพสต์ในหลายชั้นเรียนจะเป็นการแชร์กับนักเรียนทุกคนในชั้นเรียนนั้น

โพสต์ถึงนักเรียนเป็นรายบุคคล

โดยค่าเริ่มต้น สื่อการสอนจะโพสต์ถึงนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน คุณจะโพสต์สื่อการสอนถึงนักเรียนเป็นรายบุคคลได้ แต่หากเลือกมากกว่า 1 ชั้นเรียน คุณจะโพสต์ถึงนักเรียนเป็นรายบุคคลไม่ได้ นอกจากนี้คุณยังโพสต์ไปยังนักเรียนมากกว่า 100 คนต่อครั้งไม่ได้

  1. ถัดจากนักเรียนทุกคน ให้คลิกลูกศรลง ลูกศรลง จากนั้น นักเรียนทุกคนเพื่อยกเลิกการเลือก
    เลือกนักเรียน
  2. เลือกนักเรียนที่ต้องการโพสต์สื่อการสอนให้

    หมายเหตุ: คุณครูจะเห็นจำนวนนักเรียนที่คุณโพสต์ในสตรีมของชั้นเรียน หากต้องการดูชื่อนักเรียน ให้คลิกจำนวนนักเรียนในสื่อการสอนนั้น

เพิ่มหัวข้อ

  1. คลิกลูกศรลง ลูกศรลง ถัดจากหัวข้อ

  2. เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
    • หากต้องการสร้างหัวข้อ ให้คลิกสร้างหัวข้อแล้วกรอกชื่อหัวข้อ 
    • ถ้าต้องการเลือกหัวข้อจากรายการ ให้คลิกหัวข้อนั้น

โพสต์ ตั้งเวลา หรือบันทึกสื่อการสอนฉบับร่าง

หากต้องการโพสต์สื่อการสอนทันที ให้คลิกโพสต์

หากต้องการตั้งเวลาให้โพสต์สื่อการสอนในภายหลัง ให้ทำดังนี้


  1. คลิกลูกศรลง ลูกศรลง จากนั้น กำหนดเวลา ถัดจาก โพสต์
  2. คลิกลูกศรลง ลูกศรลง แล้วเลือกวันที่และเวลาถัดจากวันที่
  3. คลิกกำหนดเวลา 
    ระบบก็จะโพสต์สื่อการสอนโดยอัตโนมัติเมื่อถึงวันที่และเวลาที่กำหนดไว้

แต่หากต้องการบันทึกสื่อการสอนเป็นฉบับร่าง ถัดจากโพสต์ ให้คลิกลูกศรลง ลูกศรลง จากนั้น บันทึกฉบับร่าง  

คลิกงานของชั้นเรียนเพื่อดูสื่อการสอนฉบับร่าง รวมทั้งที่ตั้งเวลาไว้

การแก้ไขสื่อการสอน

หมายเหตุ: หากโพสต์สื่อการสอนไปยังหลายชั้นเรียน การแก้ไขสื่อการสอนในชั้นเรียนหนึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลงในชั้นเรียนอื่นๆ

  1. ไปที่ classroom.google.com
  2. คลิกชั้นเรียน จากนั้น งานของชั้นเรียน
  3. คลิกเพิ่มเติม เพิ่มเติม จากนั้น แก้ไข ถัดจากสื่อการสอน

  4. เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
    • สำหรับสื่อการสอนที่โพสต์แล้ว: แก้ไขตามต้องการแล้วคลิก บันทึก
    • สำหรับสื่อการสอนที่ตั้งเวลาไว้: แก้ไขตามต้องการแล้วคลิก กำหนดเวลา
    • สำหรับสื่อการสอนแบบร่าง: แก้ไขตามต้องการ จากนั้น ถัดจาก โพสต์ ให้คลิกลูกศรลง ลูกศรลง จากนั้น บันทึกฉบับร่าง

การเพิ่มผู้เรียน

หากต้องการเชิญนักเรียน คุณครูจะใช้อีเมลแทน Google Groups ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของหรือสมาชิกของกลุ่ม แต่จะต้องมีสิทธิ์ดูรายชื่อสมาชิกกลุ่มและที่อยู่อีเมล หากคุณไม่เห็นข้อมูลนี้ โปรดติดต่อผู้ดูแลระบบเพื่อเปลี่ยนสิทธิ์

  1. ไปที่ classroom.google.com
  2. คลิกชั้นเรียนที่คุณต้องการเพิ่มนักเรียนหรือกลุ่มนักเรียนเข้าไป
  3. คลิกผู้คน จากนั้น เชิญนักเรียน เชิญนักเรียน ที่ด้านบน

    คลิก "เชิญนักเรียน"

  4. ป้อนที่อยู่อีเมลของนักเรียนหรือกลุ่มที่ต้องการเชิญในขณะป้อนข้อความ ระบบอาจแสดงรายชื่อให้โดยอัตโนมัติ
  5. ในส่วน ผลการค้นหา ให้คลิกนักเรียนหรือกลุ่ม
  6. ทำตามขั้นตอนที่ 4 และ 5 เพื่อเชิญนักเรียนหรือกลุ่มอื่นๆ จนครบตามต้องการ
  7. คลิกเชิญ

หลังจากส่งคำเชิญทางอีเมลแล้ว รายชื่อชั้นเรียนจะอัปเดตเพื่อแสดงชื่อของนักเรียนที่ได้รับเชิญแล้ว(Inveted)
เชิญนักเรียนแล้ว

การให้รหัสกับนักเรียนเพื่อเข้าร่วม

คุณจะแชร์รหัสกับนักเรียนได้ในหลายวิธี เช่น แสดงรหัสบนโปรเจ็กเตอร์หรือคัดลอกและแชร์รหัส ทาง Social media ต่างๆ

  1. ไปที่เว็บไซต์ classroom.google.com
  2. คลิกชั้นเรียน 
  3. หากต้องการแสดงรหัสอย่างรวดเร็วเมื่อฉายภาพ ให้เต็มหน้าจอ เต็มหน้าจอ ใต้ชื่อของชั้นเรียนถัดจากรหัส หากต้องการแสดงรหัสในมุมมองขนาดใหญ่ขึ้น ให้คลิกเต็มหน้าจอ เต็มหน้าจอ อีกครั้ง
  4. คลิกการตั้งค่า การตั้งค่า และเลือกตัวเลือกต่อไปนี้

    คลิก "การตั้งค่า"

    • หากต้องการแสดงรหัสบนโปรเจ็กเตอร์ ในส่วน "ทั่วไป" ถัดจากรหัส ให้คลิก
      ลูกศรลง ลูกศรลง จากนั้น แสดง 
      คลิก "แสดง"
      หากต้องการดูรหัสในมุมมองขนาดใหญ่ ให้คลิกเต็มหน้าจอ เต็มหน้าจอ
      คลิก "เต็มหน้าจอ"
       
    • หากต้องการคัดลอกรหัสเพื่อแชร์กับนักเรียน คลิกลูกศรลง ลูกศรลง จากนั้น คัดลอกในส่วน "ทั่วไป" ถัดจากรหัส 
      คลิก "คัดลอก"
       
  5. ให้คำแนะนำเหล่านี้แก่นักเรียน
    1. ลงชื่อเข้าใช้ Classroom ที่ classroom.google.com
    2. คลิกเพิ่ม  จากนั้น เข้าร่วมชั้นเรียนในหน้าชั้นเรียน
    3. ป้อนรหัส แล้วคลิกเข้าร่วม

การเพิ่มครูผู้สอน
       ใน Google classroom คุณครูจะเชิญครูร่วมสอนเข้าร่วมชั้นเรียนเพื่อร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียนได้ และถ้าใช้ Google Groups ก็จะเชิญครูที่ร่วมสอนพร้อมกันเป็นกลุ่มได้ด้วย 
       ผู้ดูแลระบบ G Suite อาจอนุญาตให้เฉพาะครูและนักเรียนจากโรงเรียนของคุณเข้าร่วมได้ หากต้องการเพิ่มครูจากโรงเรียนอื่น ให้ติดต่อผู้ดูแลระบบเพื่ออัปเดตการตั้งค่าการเป็นสมาชิกชั้นเรียนของโดเมน

 เชิญครูให้มาร่วมสอนชั้นเรียนของคุณครู ด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. ไปที่เว็บไซต์ classroom.google.com
  2. คลิกชั้นเรียนที่คุณครูต้องการเพิ่มครูที่ร่วมสอนหรือกลุ่ม 
  3. คลิกที่แท็บ ผู้คน (People) ที่ด้านบน

    คลิก "ผู้คน"

  4. คลิกเชิญครู  เชิญครู

    คุณครูจะเชิญครูคนเดียวหรือเชิญเป็นกลุ่มก็ได้

    เชิญครู

  5. โปรดป้อนที่อยู่อีเมลของครูหรืออีเมล์กลุ่ม

    เมื่อป้อนข้อความ Classroom จะแสดงที่อยู่อีเมลที่ตรงกันให้คุณครูเลือก

  6. คลิกที่ชื่อครูหรืออีเมล์กลุ่มในรายการ
  7. ในการเชิญครูหรือกลุ่มเพิ่มเติม ให้ทำขั้นตอนที่ 5-6 ซ้ำ จนครบตามรายชื่อครูที่ต้องการ
  8. คลิกที่ปุ่ม เชิญ

ครูตอบรับคำเชิญให้ร่วมสอนในชั้นเรียน

       ครูผู้ถูกเชิญจะได้รับอีเมลที่ขอให้เข้าร่วมสอนในชั้นเรียนของคุณครู หากต้องการเข้าร่วมชั้นเรียน ครูที่ได้รับเชิญต้องคลิกลิงก์ในอีเมล หรือลงชื่อเข้าใช้ Classroom แล้วคลิก ยอมรับ (Accept)ในการ์ดชั้นเรียน

ยอมรับ

สิทธิ์สำหรับครูร่วมสอน

ครูร่วมสอนจะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ในชั้นเรียน

  • มีเพียงครูผู้สอนหลักเท่านั้นที่จะลบชั้นเรียนได้
  • ไม่มีสมาชิกคนใดที่นำครูผู้สอนหลักออกจากชั้นเรียนได้
  • ไม่มีสมาชิกคนใดที่ปิดเสียงครูในชั้นเรียนได้
  • ครูผู้สอนหลักเป็นเจ้าของโฟลเดอร์ Google ไดรฟ์ของชั้นเรียน
  • หลังจากที่ครูร่วมสอนเข้าร่วมชั้นเรียนแล้ว ครูคนดังกล่าวจะเข้าถึงโฟลเดอร์ไดรฟ์ของชั้นเรียนได้

การตรวจงานและให้คะแนน
  1. ไปที่ classroom.google.com
  2. คลิกชั้นเรียน จากนั้น งานของชั้นเรียน
  3. คลิกคำถามจากนั้นดูงาน
  4. ในหน้าคำตอบของนักเรียน คุณครูจะเห็นจำนวนและชื่อของนักเรียนซึ่งจัดกลุ่มตามสถานะงาน ดังนี้
    • มอบหมายแล้ว: งานที่นักเรียนต้องส่งซึ่งรวมถึงงานที่ไม่ได้ส่งหรือยกเลิกการส่ง
    • ส่งแล้ว: งานที่นักเรียนส่งแล้ว
    • ให้คะแนนแล้ว: งานที่ให้คะแนนซึ่งคุณส่งคืนแล้ว
    • ส่งคืนแล้ว: งานที่ไม่มีคะแนนซึ่งคุณส่งคืนแล้ว
  5. หากครูต้องการดูคำตอบของนักเรียน ให้คลิกชื่อนักเรียนที่ด้านซ้าย
  6. หากต้องการจัดเรียงนักเรียน คุณครูสามารถเลือกตัวเลือกดังนี้
    • หากต้องการดูนักเรียนที่มีสถานะงานเดียวกัน ให้คลิก มอบหมายแล้ว ส่งแล้ว ให้คะแนนแล้ว หรือส่งคืนแล้ว
    • หากต้องการจัดเรียงรายชื่อนักเรียนทางซ้าย ให้คลิกลูกศรลง ลูกศรลง เหนือรายชื่อและเลือกตัวเลือก
    • สำหรับคำถามแบบหลายตัวเลือก หากต้องการดูนักเรียนที่เลือกคำตอบข้อใดๆ ให้คลิกที่คำตอบข้อดังกล่าว
  7. หากต้องการดูคะแนนและประวัติการส่งของนักเรียน ให้คลิก ดูประวัติ ที่อยู่ตรงกลาง

    ใน Google Classroom ระบบจะเก็บบันทึกประวัติของนักเรียนรายบบุคลโดยละเอียด ดังตัวอย่างนี้
  8. หากต้องการดูงานทั้งหมดของนักเรียนให้คลิกที่ชื่อของนักเรียน
  9. หากต้องการตรวจดูงานและให้คะแนน คลิกที่งานที่นักเรียนส่งเข้ามา
  10. ครูตรวจงานและให้คะแนน และกด ส่งคืน เพื่อให้นักเรียนสามารถเห็นคะแนนของตนเอง
  11. หากต้องการส่งความคิดเห็นส่วนตัวถึงนักเรียน ให้คลิก เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว ที่ด้านล่างจากนั้นป้อนความคิดเห็นของคุณครูจากนั้นคลิกโพสต์ โพสต์
  12. สำหรับคำถามที่ต้องการคำตอบสั้นๆ หากต้องการตอบกลับนักเรียน ให้คลิกปุ่มตอบ ตอบจากนั้นป้อนคำตอบของคุณจากนั้นคลิกโพสต์ โพสต์
    หมายเหตุ: นักเรียนทุกคนจะเห็นคำตอบของคุณครูได้
  13. หากต้องการกลับไปที่มุมมองสรุปของนักเรียนทุกคน ให้คลิกปิด ปิด ทางด้านขวา


การตัดเกรด
       คุณครูจะเลือกการตัดเกรดแบบ "คะแนนรวม" หรือ "การถ่วงน้ำหนักตามหมวดหมู่" เป็นระบบตัดเกรดก็ได้ ทั้งสองวิธีนี้จะคำนวณเกรดให้ครูและคุณครูก็จะแสดงเกรดโดยรวมให้นักเรียนเห็นได้

ระบบการตัดเกรด
การตัดเเกรดแบบคะแนนรวม
ระบบจะคำนวณเกรดโดยรวมให้โดยหารคะแนนรวมที่นักเรียนได้รับด้วยคะแนนเต็มของชั้นเรียน คุณครูจะสร้างหมวดหมู่เกรดและกำหนดคะแนนเต็มสำหรับงานของชั้นเรียนในแต่ละหมวดหมู่ได้ เช่น
หมวดหมู่เรียงความหมวดหมู่การทดสอบคะแนนของนักเรียน/คะแนนเต็มเกรดโดยรวม
เรียงความ 1: 90/100การทดสอบ 1: 95/100185/20092.5%
ตารางนี้แสดงให้เห็นว่านักเรียนได้คะแนนเรียงความ 90 ส่วน 100 คะแนนและคะแนนการทดสอบ 95 ส่วน 100 คะแนน ดังนั้นนักเรียนจึงได้คะแนนรวม 185 เต็ม 200 ในชั้นเรียนนี้ เมื่อนำไปหาร ก็จะได้เกรดโดยรวมคือ 92.5%
การตัดเกรดแบบการถ่วงน้ำหนักตามหมวดหมู่
ครูจะกำหนดค่าถ่วงน้ำหนัก (เปอร์เซ็นต์) ให้หมวดหมู่เกรด แล้วระบบจะคำนวณเกรดให้ ดังนี้
  1. ค้นหาค่าเฉลี่ยของนักเรียนในแต่ละหมวดหมู่
  2. คูณ ค่าเฉลี่ยของแต่ละหมวดหมู่ด้วยค่าถ่วงน้ำหนัก (เป็นทศนิยม) เพื่อให้ได้คะแนนของหมวดหมู่
  3. ใส่คะแนนของหมวดหมู่จากเกรดโดยรวม 100%
หมวดหมู่เรียงความ: 50% ของเกรดหมวดหมู่การทดสอบ: 50% ของเกรดเกรดโดยรวม 100%
เรียงความ 1: 70/100การทดสอบ 1: 90/100 
เรียงความ 2: 80/100การทดสอบ 2: 100/100
  • (70 + 80) ÷ 2 = เฉลี่ย 75
  • 75 x .5 = 37.5
  • (90 + 100) ÷ 2 = เฉลี่ย 95
  • 95 x .5 = 47.5
คะแนนของหมวดหมู่ = 37.5%คะแนนของหมวดหมู่ = 47.5%เกรดโดยรวม: 37.5 + 47.5 = 85%


ตารางนี้จะแสดงการตัดเกรดแบบ "การถ่วงน้ำหนักตามหมวดหมู่" ในหมวดหมู่เรียงความนักเรียนมีค่าเฉลี่ย 75 เมื่อคูณด้วยค่าถ่วงน้ำหนักของหมวดหมู่ 0.5 ก็จะได้ผลลัพธ์ 37.5% สำหรับเรียงความ ส่วนหมวดหมู่การทดสอบนักเรียนมีค่าเฉลี่ย 95 เมื่อคูณด้วยค่าถ่วงน้ำหนักของหมวดหมู่ 0.5 ก็จะได้ผลลัพธ์ 47.5% สำหรับการทดสอบ เมื่อนำคะแนนของทั้งสองหมวดหมู่มารวมกัน (37.5 + 47.5) นักเรียนก็จะได้เกรดโดยรวม 85%


ข้อจำกัดของ Google classroom
กิจกรรมบางอย่างใน Google Classroom จะมีขีดจำกัดซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทบัญชีที่ใช้บัญชี G Suite หรือบัญชี
โรงเรียน หรือ บัญชี Google ส่วนบุคคล เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย

ขีดจำกัดของชั้นเรียน

*ขีดจำกัดอาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต

กิจกรรมหรือฟีเจอร์บัญชี G Suite หรือบัญชี
โรงเรียน 
บัญชี Google ส่วนบุคคล
จำนวนครูต่อชั้นเรียน2020
สมาชิกชั้นเรียน (ครู
และนักเรียน)
1,000250
จำนวนชั้นเรียนที่เข้าร่วมได้1,000สูงสุด 100 ชั้นเรียน และ 30 ชั้นเรียนต่อวัน
จำนวนชั้นเรียนที่สร้างได้ไม่จำกัด30 ชั้นเรียนต่อวัน
จำนวนคำเชิญให้เป็นสมาชิกชั้นเรียน
ที่คุณมีสิทธิ์ส่ง
500 ครั้งต่อวัน ต่อครู 1 คน100 ครั้งต่อวัน ต่อครู 1 คน
จำนวนผู้ปกครองต่อนักเรียน20ใช้งานฟีเจอร์นี้ไม่ได้
ระดับการเข้าถึงอีเมลไม่จำกัดใช้งานฟีเจอร์นี้ไม่ได้

หมายเหตุ: การเชิญครูร่วมสอน สามารถเชิญครูได้มากกว่า 20 คน แต่มีครูเพียง 20 คนเท่านั้นที่จะเข้าร่วมชั้นเรียนได้


ขอขอบคุณ: support.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น